ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 4.6ตัวอย่างที่ 9
วันที่ 26 มกราคม 2549 เวลา 17.50 น. นำเอา ปี เดือน วัน เวลา ที่เราต้องการพิจารณานั้น ไปกรอกในโปรแกรมตั้งดวงจีน จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
เมื่อได้ผลลัพธ์จากการตั้งโปรแกรมแล้ว จึงนำเอา หลักปี หลักเดือน หลักวัน และ หลักเวลา ที่ได้จากการตั้งโปรแกรมไปเทียบตาราง 60 กะจื้อ เทียบข่วย ซึ่งแสดงในบทความ "ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 3.1" ดังต่อไปนี้
เมื่อได้รูปฤกษ์ที่แปลงเป็นข่วยแล้ว ต้องนำมาพิจารณาว่า รูปฤกษ์ดังกล่าว เข้าตามกฏของรูปฤกษ์ยามวิชา 64 ข่วย ทั้ง 2 แบบหรือไม่ กฏของการพิจารณาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ได้เขียนอธิบายไว้แล้วในบทความ "ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 2.2, 2.3" ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์โดยพิจารณาจากเลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน
จากรูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 9 เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน หลักวัน คือ 1 ฉะนั้น ในรูปฤกษ์นี้ เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องได้ตามกฏ คือ ต้องสัมพันธ์ส่งมาให้ "หลักวัน"
[1] กฏฮะจั๊บ (ภาคี 10) เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 1 กับ เลข 9 ...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา เป็นเลข 9 [2] กฏฮะโหงว (ภาคี 5) เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 1 กับ เลข 4 ...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง ไม่มี [3] กฏฮะจั๊บโหงว (ภาคี 15) ไม่ต้องพิจารณา เพราะหลักวันของรูปฤกษ์ ไม่สามารถภาคี 15 ได้ [ภาคี 15 เกิดจากการรวมตัวของ เลข 6 กับ เลข 9 หรือ เลข 7 กับ เลข 8] [4] กฏแซเซ้ง (เกิดสำเร็จ) เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 1 กับ เลข 6 ...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง ไม่มี [5] กฏพลังขี่ใสสะอาด (เหมือนกัน) เลขกำกับพลังธาตุ (ขี่) ของข่วยสามเส้นบน ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 1 ...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง ไม่มี [6] กฏของธาตุพิฆาตเข้าหลักวัน หรือ ก่อเกิดเข้าหลักวัน ...ในรูปฤกษ์ตามตัวอย่าง หลักวันเป็น 1 คือ ธาตุน้ำ ธาตุก่อเกิดเข้า คือ 4 และ 9 ซึ่งเป็นธาตุทอง ส่วนธาตุพิฆาตเข้าไม่มี เราจะพบว่า หลักปี หลักเดือน และ หลักวัน เป็น 9 ธาตุทอง ก่อเกิดเข้าหลักวัน ดังนั้น องค์ประกอบของฤกษ์เข้าตามกฏ ข้อสรุป จากรูปฤกษ์ดังกล่าว จะพบว่า เข้าตามกฏฮะจั๊บ (ภาคี 10) หรือ หลักวันเป็น 1 คือ ธาตุน้ำ หลักปี เป็นเลข 9 ธาตุทอง หลักเดือน เป็นเลข 9 ธาตุทอง และ หลักยาม เป็นเลข 9 ธาตุทอง ทั้งหมดเป็นธาตุก่อเกิดเข้าหลักวัน ลักษณะรูปฤกษ์อย่างนี้ ถือว่า รูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 9 ใช้ได้ ตามหลักการของวิชาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ที่มีการสอนทั่วโลก และ ในประเทศไทย ที่อธิบายมานี้ ไม่ใช่หลักการของวิชาฤกษ์ยาม ในระบบวิชาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ของสำนักซำง้วน ต้องทำความเข้าใจด้วย ต่อไป พิจารณารูปฤกษ์ตามหลักการที่ 2 คือ
2. ความสัมพันธ์ของรูปฤกษ์โดยพิจารณาจากเลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง จากรูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 9 เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง หลักวัน คือ 4
ฉะนั้น ในรูปฤกษ์นี้ เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องได้ตามกฏ คือ ต้องสัมพันธ์ส่งมาให้ "หลักวัน"
[1] กฏฮะจั๊บ (ภาคี 10) เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 4 กับ เลข 6 ...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง ไม่มี [2] กฏฮะโหงว (ภาคี 5) เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 1 กับ เลข 4 ...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง ไม่มี [3] กฏฮะจั๊บโหงว (ภาคี 15) ไม่ต้องพิจารณา เพราะหลักวันของรูปฤกษ์ ไม่สามารถภาคี 15 ได้ [ภาคี 15 เกิดจากการรวมตัวของ เลข 6 กับ เลข 9 หรือ เลข 7 กับ เลข 8] [4] กฏแซเซ้ง (เกิดสำเร็จ) เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 4 กับ เลข 9 ...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง ไม่มี [5] กฏพลังยุคใสสะอาด (เหมือนกัน) เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 4 ...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักปี และ หลักเวลา เป็นเลข 4 [6] กฏภาคีอุ่งเชียงธง เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของข่วยสามเส้นล่าง ของหลักปี หลักเดือน และ หลักเวลา ต้องเป็น เลข 2 กับ เลข 4 ...ในรูปฤกษ์ตัวอย่าง หลักปี เป็นเลข 4 หลักเดือน เป็นเลข 2 และ หลักเวลา เป็นเลข 4
ข้อสรุป จากรูปฤกษ์ดังกล่าวตามตัวอย่าง จะพบว่า เลขกำกับยุค (อุ่ง) ของหลักวัน คือ 4 เลขกำกับยุคของหลักปี เป็น 4 หลักเดือน เป็น 2 และ หลักเวลา เป็น 4 เข้าตามกฏ ภาคีอุ่งเชียงธง นอกจากนี้ ตามกฏของรูปฤกษ์ในวิชาฮวงจุ้ยระบบ 5 ธาตุ ถือว่าฤกษ์ดังกล่าวชงกันในหลักปี [酉] หลักวัน [卯] และ หลักเวลา [酉] ฉะนั้น ในระบบวิชาฤกษ์ยาม 64 ข่วย ที่มีการสอนทั่วโลก และ ในประเทศไทย หากพบว่า มีการชงกันในรูปฤกษ์ (ตารางแสดงการชง แสดงในบทความ "ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 3.2") จะมีหลักการพิจารณาข่วยครอบครัวสายเลือดเดียวกัน ดังได้อธิบายมาแล้ว ในบทความ "ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 2.1" และ ได้ทำตารางสรุปเรื่องหลักการพิจารณาข่วยครอบครัวสายเลือดเดียวกัน ในบทความ "ศึกษาฤกษ์ 64 ข่วย ให้รู้ถึงที่ไปที่มา ตอนที่ 3.2" จึงต้องมีการนำเอาหลักการ สุ่งจื้อเก็ก และ เง็กจื้อเก็ก มาพิจารณา
จากหลักการสุ่งจื้อเก็ก และ เง็กจื้อเก็ก เมื่อแปลงรูปฤกษ์ดังกล่าวเป็นข่วยแล้ว หลักที่ชง (ปะทะ) กันนั้น อยู่ในครอบครัวข่วยสายเลือดเดียวกันหรือไม่? หากอยูในครอบครัวเดียวกัน ถือว่ารูปฤกษ์ดังกล่าวใช้ได้ แต่ถ้าอยู่คนละครอบครัวถือว่า มีการปะทะกันรูปฤกษ์ ไม่ควรใช้ฤกษ์นั้น ซึ่งข่วย 1-4 ข่วย 9-4 อยู่ในสมาชิกของครอบครัวข่วยสายเลือดเดียวกัน คือ กลุ่มเง็กจื้อเก็ก ฉะนั้น รูปฤกษ์ในตัวอย่างที่ 9 สามารถใช้ได้
หมายเหตุ Sages เผยแพร่บทความนี้เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2552 เวลา 17.18 น. สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติปี 2537 ห้ามมิให้นำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความดังกล่าว ไปดัดแปลง แก้ไข หรือ ทำซ้ำ เพื่อนำไปใช้สอน หรือ เผยแพร่ ในทางพาณิชย์ โดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Sages Academy และ มีตราประทับเท่านั้น อ่านบทความคุยกับซินแสทั้งหมด >>> คลิ๊กที่นี่ |